“เอ็นไอเอ” เปิดพื้นที่ปล่อยของ 15 สตาร์ทอัพด้านเกษตร กรุยทางเกษตรกรไทย “ปลูก ผลิต ขาย” ได้ด้วยเทคโนโลยี พร้อมชวนชาวไร่ชาวสวนร่วมทดลองระบบนวัตกรรม ในโครงการ “Agtech Connext” 8 – 9 มิ.ย.นี้

แชร์
Share on facebook
Share on twitter
Share on email
ครั้ง

กรุงเทพฯ 4 มิถุนายน 2564 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับ ภาคคีเครือข่ายสร้างแพลตฟอร์มเชื่อมโยงเกษตรกรกับสตาร์ทด้านเกษตรสู่การเป็นเกษตรกรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ “AgTech Connext” คัดเลือก 15 สตาร์ทอัพด้านเกษตร 5 กลุ่ม ได้แก่ สตาร์ทอัพกลุ่มปศุสัตว์ สตาร์ทอัพด้านสัตว์เศรษฐกิจใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยม สตาร์ทอัพสำหรับในกลุ่มการปลูกผัก พืชไร่ พืชสวน สตาร์ทอัพด้านการปลูกมันสำปะหลัง  แพลตฟอร์มตลาดในการส่งสินค้าเกษตรสู่ผู้บริโภค ร้านค้า โรงงานผลิต ที่มีเทคโนโลยีพร้อมใช้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ลดความเสียหาย และเพิ่มช่องทางจำหน่ายแก่สินค้าเกษตร โดยเกษตรกรที่สนใจสามารถร่วมทดลองใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เหมาะสมกับการทำเกษตรแต่ละรูปแบบสามารถเช้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวจผ่านเฟซบุ๊คไลฟ์ “AgTech Connext” ในวันที่ 8 -9 มิถุนายน 2564

           ดร.กริชผกา  บุญเฟื่อง  รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม NIA  กล่าวว่า จากการสำรวจระบบนิเวศสตาร์ทอัพด้านเกษตรในประเทศไทย หนึ่งอุปสรรคที่สำคัญและยังเป็นช่องว่าง คือ เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทั้งการรับรู้และความไม่เข้าใจเทคโนโลยีหรือบริการ ขาดการเชื่อมโยงให้รู้จักผลิตภัณฑ์หรือบริการของสตาร์ทอัพ และเกษตรกรบางส่วนยังมีความกังวลถึงความคุ้มค่าในการใช้เทคโนโลยี ความรู้ และทักษะในการใช้งาน ประกอบกับแรงงานในภาคการเกษตรมีอายุเฉลี่ยที่สูงขึ้น จึงต้องเร่งสร้างโอกาสการเข้าถึงและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในภาคการเกษตรของไทยให้มากขึ้น ดังนั้น NIA จึงได้ริเริ่มและพัฒนาแพลตฟอร์ม AgTech Connext” เพื่อเป็นเสมือนสะพานเชื่อมให้สตาร์ทอัพด้านเกษตรได้มีโอกาสในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้กับกลุ่มเกษตรกรที่พร้อมเปิดใจรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยยกระดับธุรกิจการเกษตรของตนเอง และสามารถกระจายต่อไปในวงกว้างมากขึ้น พร้อมทั้งร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน อาทิกรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว กรมประมง กรมปศุสัตว์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด และ กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพได้เรียนรู้การทำเกษตรในรูปต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น  สำหรับ 15 สตาร์ทอัพด้านเกษตรกลุ่มแรกที่ผ่านการคัดเลือกครอบคลุมตั้งแต่การบริหารจัดการฟาร์มด้วยอุปกรณ์เซนเซอร์ และการควบคุมด้วยเทคโนโลยีที่แม่นยำ การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่จะช่วยยืดอายุผลผลิตก่อนถึงมือผู้บริโภค และระบบตลาดที่จะส่งสินค้าเกษตรให้ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างตรงความต้องการ ได้แก่ 

·    สตาร์ทอัพกลุ่มปศุสัตว์ ได้แก่ น้ำเชื้อว่องไว เป็นการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาสร้างความแม่นยำในการติดสัตว์สำหรับวัวเนื้อและวัวนมร่วมกับระบบผสมเทียมโคแบบกำหนดเวลา และน้ำเชื้อโคกระบือคัดเพศได้ตามความต้องการและแม่นยำสูง  สำหรับกลุ่มประมง ได้แก่ อัลจีบา พัฒนาเครื่องนับลูกสัตว์น้ำ เช่น ลูกปลา ไข่ปลา ลูกกุ้งพี ลูกกุ้งก้ามกราม ลูกปู ให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ จัดเก็บหลักฐานการนับได้ และ อควาบิซ เข้าร่วมพัฒนาตั้งแต่การผลิตสัตว์น้ำจากฟาร์มของเกษตรกร โดยเฉพาะสินค้าประมงที่เหลือจากการขายสดแล้วมาเข้ากระบวนการแปรรูป และจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์

·    สตาร์ทอัพด้านสัตว์เศรษฐกิจใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยม คือการเลี้ยงจิ้งหรีด เพื่อนำมาผลิตเป็นโปรตีนทางเลือกจากแมลงที่กำลังได้รับความสนใจ โดยมี เดอะบริคเก็ต สตาร์ทอัพที่ทำระบบฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีดแนวตั้งที่ควบคุมอย่างแม่นยำด้วยไอโอที ซึ่งจะได้ผลผลิตที่ชัดเจนและตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน ตอบโจทย์การผลิตภายใต้ห่วงโซ่ของอาหารในอนาคต  

· สตาร์ทอัพสำหรับในกลุ่มการปลูกผัก พืชไร่ พืชสวน แพลตฟอร์มของ รีคัลท์ ที่นำข้อมูลขนาดใหญ่ของภาพถ่ายดาวเทียมมาพยากรณ์อากาศที่มีความแม่นยำ ทำให้สามารถการวางแผนการเพาะปลูกได้ นอกจากนี้ยังมีสตาร์ทอัพ โกรว์เด่ ฟาร์มมิ่ง ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถรองรับกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผัก ผลไม้ ที่ได้รับรอง GAP เพื่อส่งต่อสินค้าทางการเกษตรให้แก่ห้างโมเดิร์นเทรดและร้านอาหาร และเอเวอร์โกล ผู้พัฒนาระบบปลูกพืชในโรงเรือนที่ต้องการเครื่องจ่ายสารละลายแบบ Inline injection ที่คุณภาพเทียบเท่าระดับนานาชาติ พร้อมด้วยระบบโรงเรือนที่มีการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างแม่นยำด้วยฝีมือสตาร์ทอัพไทยอย่าง นอกจากนี้ ยังมีฟาร์มไทยแลนด์ สตาร์ทอัพที่ใช้พื้นฐานความรู้ของไอโอทีมาต่อยอดระบบสมาร์ทฟาร์ม เพื่อให้เกษตรกรสามาถจัดการควบคุม ดูเเลผลผลิตทางการเกษตร ผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือได้ทุกที่ ทุกเวลา

·    สตาร์ทอัพด้านการปลูกมันสำปะหลัง แพลต์ฟอร์ม ไบโอ แมทลิ้งค์ ที่มีระบบบริหารและดูแลการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรสมาชิกและจับคู่ตลาดกับเกษตกรมันสำปะหลังแบบมีประกันราคาไม่ต่ำกว่า 2 บาทต่อกิโลกรัม  และโนวี่ โดรน โดรนสำหรับการเกษตรเพื่อฉีดพ่นปุ๋ย ซึ่งจะช่วย ลดเวลา เพิ่มผลผลิต คืนทุนไว เพิ่มรายได้ พร้อมทั้งช่วยให้เกษตรลดความเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมี นอกจากนี้ยังมีระบบบริการบินสำรวจ และการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ  แพลตฟอร์ม เก้าไร่ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการให้บริการฉีดพ่นสารอารักขาพืช ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการฉีดพ่นสารต่าง ๆ ผ่านโดรนโดยเกษตรสามารถจองคิวเพื่อขอรับบริการได้ผ่านแอพพลิเคชั่น  นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยียืดอายุผลผลิตทางการเกษตร อย่าง เทคโนโลยีของ อีเด็น อะกริเทค ที่มีการคิดค้นสารเคลือบสารเคลือบยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ และผลไม้ตกแต่ง โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยให้สินค้าทางการเกษตรเสียหายน้อยลง

·      แพลตฟอร์มตลาดในการส่งสินค้าเกษตรสู่ผู้บริโภค ร้านค้า โรงงานผลิต ได้แก่ เฮิร์ป สตาร์ทเตอร์ แพลตฟอร์มที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาธุรกิจและสร้างนวัตกรรมตลาดสินค้าเพื่อชุมชนผ่านการซื้อสินค้าจากเกษตรและนำมาแปรรูป รวมถึงการสร้างช่องทางการขายใหม่ๆ ให้แก่เกษตรกร และการถ่ายทอดเรื่องราวอัตลักษณ์ของสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างมีระบบ  รวมไปถึง ฟาร์มโตะ ซึ่งเป็นแพลต์ฟอร์มออนไลน์สำหรับการกระจายสินค้าเกษตร โดยมีระบบการเชื่อมโยงเกษตรกรและผู้บริโภคเข้าหากันผ่านการขายผลผลิตเกษตรรูปแบบใหม่บนตลาดออนไลน์ และ แคสปี้ แพลต์ฟอร์มซื้อขายสินค้าเกษตรในรูปแบบออนไลน์ที่มีสินค้ามากมายที่ผ่านการคัดสรรเกษตรกรที่มีความมุ่งมั่นผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยมุ่งสู่เกษตรอินทรีย์ ภาษา

 ดร. กริชผกา กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามสำหรับเกษตรกรทั่วประเทศไทยที่ทำเกษตรกรรมในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ปลูกพืช ปศุสัตว์ กลุ่มประมง กลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีด กลุ่มปลูกมันสำปะหลัง ที่ต้องการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน ลดแรงงาน สามารถร่วมทดลองใช้สินค้า เทคโนโลยี ด้านต่าง ๆ ซึ่งการเจ้าร่วมทดลองใช้สินค้าในครั้งนี้ เกษตรกรจะได้พบกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากมายที่จะช่วยตอบโจทย์การทำเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเกษตรยังจะได้เลือกลองเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการทำเกษตรของตนเองมากที่สุด ซึ่ง ภายในงานยังมีเจ้าหน้าที่ที่คอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการนำเอาเทคโนโลยีไปใช้กับการทำเกษตรร่วมด้วย นอกจากสิ่งที่เกษตรกรจะได้ร่วมทดลองใช้เทคโนโลยีแล้วโครงการดังกล่าวยังช่วยให้สตาร์ทอัพด้านเกษตรได้รับข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมด้วย  สำหรับเกษตรกรที่สนใจ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวในรูปแบบออนไลน์ในวันที่ 8-9 มิถุนายน 2564 ได้ที่ https://forms.gle/ncRXtL1DA9Cob3mKA  หรือสอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 02-017 5555 ต่อ 552 – มือถือ 098-257 0888 – อีเมล Thinnawat.s@nia.or.th

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp
Share on email
Email

“เอ็นไอเอ” เปิดพื้นที่ปล่อยของ 15 สตาร์ทอัพด้านเกษตร กรุยทางเกษตรกรไทย “ปลูก ผลิต ขาย” ได้ด้วยเทคโนโลยี พร้อมชวนชาวไร่ชาวสวนร่วมทดลองระบบนวัตกรรม ในโครงการ “Agtech Connext” 8 – 9 มิ.ย.นี้

กรุงเทพฯ 4 มิถุนายน 2564 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับ ภาคคีเคร